สายตาสั้นคืออะไร?
สายตาสั้นเกิดจากการที่กระบอกตาโตเร็วเกินไป ทำให้ความยาวกระบอกตายาวเกิน หรือกระจกตาโค้งและหนาเกินไป ทำให้ภาพโฟกัสสั้นเกินไปจนอยู่ด้านหน้าของจอประสาทตา ส่งผลให้มองระยะไกลไม่ชัดเจน
จากการเก็บข้อมูลทั่วโลกพบว่า เด็กมักจะเริ่มเป็นสายตาสั้นช่วงอายุ 4-13 ปี และพบว่า 25% ของเด็กช่วงวัยนี้มีสายตาสั้น คาดว่าปริมาณเด็กสายตาสั้นจะเพิ่มขึ้นเป็น 50% ในปี 2050
เราพบว่าการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลที่มากขึ้นเป็นหนึ่งในต้นเหตุที่จำนวนเด็กมีสายตาสั้นเพิ่มมากขึ้น บวกกับใช้เวลากลางแจ้งน้อยลง พฤติกรรมเหล่านี้สอดคล้องกับจากงานวิจัยที่พบว่า เด็กที่ใช้เวลากลางแจ้งมากพอ (14 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ 2 ชั่วโมงต่อวัน) จะมีสายตาสั้นน้อยกว่าเด็กที่ไม่ค่อยออกไปกลางแจ้ง และพบว่าเด็กที่ใช้สายตาระยะใกล้เป็นเวลานาน (จ้องอุปกรณ์ดิจิทัล หรืออ่านหนังสือนานๆ) จะมีสายตาสั้นมากกว่าเด็กที่ใช้สายตาระยะใกล้น้อย จากงานวิจัยดังกล่าวทำให้เราสใรุปได้ว่าเราควรควบคุมเวลาในการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลของเด็ก และจัดสรรค์เวลาให้มีเด็กได้ออกไปเล่นกลางแจ้ง 2 ชั่วโมงต่อวันสามารถช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นลงให้น้อยกว่า -1.00 D ต่อปี
ทำไมต้องกังวลเรื่องสายตาสั้น เพราะอันตรายของสายตาสั้นไม่ใช่การใส่แว่นหนา
เราพบว่าสรีระของคนสายตาสั้นมักมีกระบอกตาที่ยาวกว่าคนสายตาปกติ ทำให้โฟกัสของภาพไปไม่ถึงจอประสาทตา และยังพบอีกว่ายิ่งมีสายตาสั้นมากกระบอกตาก็จะยาวมากกว่าคนที่มีสายตาสั้นน้อยๆ การทที่มีกระบอกตายาวนี้เองจึงนำมาซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อโรคทางตาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อเด็กโตขึ้น
จากการเก็บข้อมูลพบว่าคนที่มีค่าสายตาสั้นเพียง -2.00 จะมีอัตรส่วนการเป็นโรคตามากกว่าคนสายตาปกติถึง 2 เท่า และความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นอีก 58% เมื่อสายตาสั้นเพิ่มมากขึ้นทุกๆ -1.00 D
ดังนั้นสายตาสั้นจึงเป็นสิ่งที่ควรระมัดระวังอย่างมาก แม้จะสั้นเพียงเล็กน้อยก็ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายแรงทางตาได้เพิ่มขึ้น โรคที่เกี่ยวข้องกับสายตาสั้นได้แก่ โรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม(Macular Degeneration), โรคจอประสาทตาลอก(Retina Detachment), โรคต้อกระจกบริเวณด้านหลังของเลนส์ตา (Posterior Subcapsular Cataract) และโรคต้อหิน (Glaucoma)
ในปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีที่สามารถรักษาสายตาสั้นได้ การเลสิก(LASIK) เป็นเพียงการปรับความโค้งกระจกตาให้แบนลงเท่านั้น แต่ปัจจัยเสียงการเกิดโรคต่างๆยังคงอยู่ ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคการชะลอสายตาสั้นจึงเป็นเรื่องที่คุณควรให้ความสำคัญมาก
เลนส์แก้ไขสายตาสั้นธรรมดา สามาระลอสายตาสั้นได้หรือไม่?
เลนส์สายตาสั้นทั่วๆไปสามารถทำให้เด็กมองเห็นชัดเจนมากขึ้นได้ แต่ไม่สามารถช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นได้ เนื่องจากลักษณะการโฟกัสของเลนส์สายตาสั้นทั่วๆไปจะโฟกัสพอดีบนจอแระสาทตาแค่บริเวณตรงกลาง แต่ปริเวณรอบนอกจองจอปนะสาทตาโฟกัสจะเลยออกไปเรียกว่า Periperal Hyperopic Defocus
จากงานวิจัยของ Dr. Earl L.Smith ค้นพบว่า Cell ในจอประสาทตาสาารถรับรู้ได้ว่ามี Hyperopic Defocus ที่จอประสาทตา และเซลในจอประสาทตาจะส่งสัญญาณกระตุ้นให้ลูกตามีการเจริญเติบโตมากขึ้นเพื่อให้จอประสาทตายาวออกไปพอดีกับโฟกัส ส่งผลให้ลูกตายาวออกไปให้โฟกัสรอบนอกพอดีจุดโฟกัสบริเวณกึ่งกลางตาก็จะสั้นเกินไป เป็นผลให้สายตาสั้นมากขึ้น โดยถ้ากระบอกตายาวขึ้น 1 มิลิเมตร สายตาสั้นจะเพิ่มมากขึ้นถึง -3.00 D เลยทีเดียว ในทางกลับกัน Dr. Earl L.Smith พบว่า Myopic Defocus สามารถกระตุ้นให้ลูกตาสั้นลง และลดการดพิ่มขึ้นของสายตาสั้นได้เช่นกัน
จากงานวิจัยนี้เองทาง Hoya จึงคิดค้นเลนส์ที่สามารถแก้ไขสายตาสั้น และสร้าง Myopic Defocus ขึ้นพร้อมๆกัน ให้เด็กได้รับการแก้ไขสายตาสั้น และ ป้องกันการยืดออกของกระบอกตาได้อีกด้วย
MiyoSmart คือเลนส์อะไร?
เลนส์ชะลอสายตาสั้น MiyoSmart เป็นเลนสืที่ได้รับการพัฒนาร่วมกันระหว่าง HOYA และ มหาวิทยาลัย Hong Kong Polytechnic ผลงานวิจัยของเลนส์ตัวนี้พบว่าสามารถชะลอการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นได้ถึง 59% และหยุดการเพิ่ทขึ้นของสายตาสั้นได้ถึง 21% ด้วย D.I.M.S Technology
MiyoSmart เป็นเลนส์แก้ไขสายตาสั้นที่มีเลนส์นูนเล็กๆอยู่รอบๆเพื่อสร้าง Peripheral Myopic Defocus ขึ้นโดยยังคงความชัดเจนของภาพ และปรับตัวได้ง่าย
ลักษณะของเลนส์ : กึ่งกลางเลนส์ หรือ Clear Zone จะเป็นบริเวณที่มีค่าสายตาสั้นอย่างเดียวขนาด 9.4 มิลิเมตร บริเวณนี้เด็กจะสามารถมองเห็นได้ชัดเจน 100% รอบๆจะเป็น Treatment Zone บริเวณนี้จะมีเลนส์นูนเล็กๆที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.03 มม. เรียกอีกอย่างว่า Segment จำนวนมากกว่า 400 อัน ครอบคลุมพื้นที่ 33 มม. เพื่อสร้าง Myopic Defocus บนจอประสาทตา
การออกแบบ D.I.M.S. Technology คือการเอาขนาดรูม่านตาของเด็กมาคำนวนเพื่อออกแบบขนาดของ วงเลนส์นูนใน Treatment Zone ขนาดรูม่านตาของเด็กโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 9.4 มม. ทำให้เวลาที่เด็กกมองผ่าน Treatment Zone จะมองผ่าน Segment 6-7 อัน ส่งผลให้เกิดโฟกัสขึ้น 2 อันพร้อมกัน คือโฟกัสขอเลนส์สายตาสั้นปกติ และโฟกัส Myopic Defocus โครงสร้างนี้ได้รับการพิสูจณ์แลเวว่าสามารถชะลอสายตาตาสั้นได้ และยังคงความชัดเจนของภาพได้ดี
เปรียบเทียบคุณภาพของภาพที่มองผ่าน Treatment Zone กับ เลนส์สายตาสั้นทั่วๆไปจะเห็นว่าความคมชัดแตกต่างกันน้อยมาก
MiYOSMART เหมาะสำหรับเด็กช่วงอายุ 6 ถึง 18 ปี โดยผลการชะลอสายตาสั้นสามารถทำไดเใกล้เคียง Ortho K (orthokeratology) lens มากที่สุด ช่วงวัย 6 ถึง 12 ปีจะเป็นช่วงที่สายตาสั้นเพิ่มเร็วที่สุด (เพิ่มเฉลี่ย -2.00 D ต่อปี)
ทำไมต้อง Hoya MiYOSMART?
MiYOSMART เป็นการชะลอสายตาสั้นโดยไม่ทัผลข้างเคียง ความเสี่ยงต่ำ ไม่ต้องสัมผัสดวงตา ทำให้ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ และอาการไม่สบายตาแบบการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ
เป็นวิธีใหม่ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลถึง 59% และได้ผลดีที่สุดเมทื่อเทียบกับเลนส์แว่นตาควบคุมสายตาสั้นยี่ห้ออื่นๆ
วัสดุแข็งแรงด้วยทนทาน polycarbonate และ multi-coat ที่ทนทานที่สุดของโฮย่า
ป้องกันรังสี UV100%
MiYOSMART ต่างจากยี่ห้ออื่นอย่างไร
ข้อแตกต่าง
Young children with hyperopic refractive error (far sightedness) have more than 80% chances of becoming myopic by the age of 13. The table below shows hyperopic children with risks of becoming myopic by 13 years old.
Based on a study done in 2005, children at the age of 6-7 have a mean myopia progression of -2.21 diopters in 3 years. As compared to other age groups, children aged 6 to 7 years old have the fastest myopia progression
References
Nixon A, Brennan N. (2020). Managing Myopia: A Clinical Response to Growing Epidemic.
BHVI Calculator, based on Asian Ethnicity starting -1.00D myopia at age 6. Comparing no myopia management with bifocal management.
Cheng D, Woo G.C, Drobe B. et al. (2014). Effect of bifocal and prismatic bifocal spectacles on myopia progression in children: three-year results of a randomized clinical trial. JAMA Ophthalmol, 132, 258-64.
HOYA. (2019). MiYOSMART. HOYA.
Hyman L, Gwiazda J, Hussein M, et al. (2005). Relationship of Age, Sex, and Ethnicity With Myopia Progression and Axial Elongation in the Correction of Myopia Evaluation Trial. Arch Ophthalmol, 123(7), 977-987.
Mutti D.O, Hayes J.R, Mitchell G.L, et al. (2007). Refractive Error, Axial Length, and Relative Peripheral Refractive Error before and after the Onset of Myopia. Invest Ophthalmol Vis Sci, 48(6), 2510-2519.
Lam CSY, Tang WC, Tse DY, et al. (2020). Defocus Incorporated Multiple Segments (DIMS) spectacle lenses slow myopia progression: a 2-year randomised clinical trial. British Journal of Ophthalmology, 104, 363-368.
Comentários