top of page

Eyezen™ Start: เลนส์ชั้นเดียว Gen ใหม่!!

การใช้สายตาของคนเราเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อน Smartphone กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราทุกคน และเวลาที่เราใช้มือถือเรามักมี Position ที่แตกต่างจากเวลาอ่านหนังสือ หรือคอมพิวเตอร์ Essilor ได้ทำการศึกษาการใช้สายตาในอุปกรณ์ดิจิทัลกับกลุ่มตัวอย่าง 22 คน โดยสังเกตการใช้ Smartphone ใน 3 ท่าทางหลักๆ ได้แก่ การยืนใช้มือถือ, การใช้มือถือขณะนั่งบนโซฟา และนอนเล่นมือถือ และพบว่าลักษณะท่าทางขณะเล่นมือถือทั้ง 3 ท่าทางมีบางอย่างที่เหมือนกันคือ

  • ก้มหน้า

  • เหลือตาลงเล็กน้อย

  • ระยะห่างมือถือ

โดยปกติแว่นตาจะถูกตั้ง center ของเลนส์ใก้ตรงกับกึ่งกลางคาดำโดยอ้างอิง position ตาดำ จากเวลาเรามองไกล แต่เมื่อเราเหลือบตาลงขณะมองอุปกรณ์ดิจอทัลทำให้เรามองไม่ตรงจุดโฟกัส ซึงการมองไม่ตรงจุดโฟกัสนี้ถ้ามองไม่นานคุณอาจไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้าผ่านไปซักระยะหนึ่งจะไม่สบายตาง่ายขึ้น

รูปภาพแสดงถึงความแตกต่างระหว่างการอ่านหนังสือพิมพ์กับอุปกรณ์ดิจิทัล

นอกจาก Position การใช้งานที่เปลี่นไป การใช้อุปกรณ์ดิจิทัลติดต่อกันเป็นระยะเวลานานยังเป็นสาเหตุของ Computer Vision Syndrome (CVS) หรือกลุ่มอาการตาล้าจากอุปกรณ์ดิจิทัล[1] จากการศึกษาพบว่าการมีค่าสายตาเพียงเล็กน้อยและไม่ได้แก้ไขสามารถนำไปสู่อาการตาล้าได้ง่ายขึ้น [2][3][4][5] ในปี 2012 มีการศึกษาวิจัยในคนอายุน้อยในกรณีที่มีการ induce สายตาเอียง และ Computer Vision Syndrome โดยให้กลุ่มตัวอย่างถูกจำลองการมีสายตาเอียงอ่อนๆ และใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลา 10 นาที พบว่าความสบายตาแตกต่างกันอย่างชัดเจน และอาการลดลงอย่างมากเมื่อสายตาเอียงได้รับการแก้ไข[6]


Eyezen™ Start: เลนส์ชั้นเดียวแบบใหม่เพื่อชีวิตบนโลกดิจิทัล

ปัจจุบันเลนส์แว่นตาทั่วไปจะให้การมองเห็นที่คมชัดเพียงแค่บริเวณตรงกลางของตัวเลนส์เท่านั้น และจะให้การมองเห็นที่ดีเยี่ยมในระยะไกล โดยไม่ได้คำนึงถึงการเหลือบมองทางด้านล่างของตัวเลนส์เมื่อใช้สายตามองในระยะใกล้ เช่น ขณะอ่านหนังสือ หรือใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ นำไปสู่อาการตาล้าซึ่งเป็นปัญหาจากการมองภาพระยะใกล้ นี่เป็นเหตุผลที่ Essilor คิดค้น Eyezen Startขึ้น เพื่อลด Power error เมื่อมองจุดที่ไม่ใช่จุด focus(Power error ประมาณ 0.18 - 0.25 D) ที่เป็นสาเหตุของอาการตาล้า

Eyezen™ Start คือผลิตภัณฑ์แว่นตาที่ก้าวล้ำด้วยเทคโนโลยี Dual Optim™ ที่คำนวณการเปลี่ยนแปลงระยะการใช้สายตา และลักษณะการเหลือบตาไปมาขณะใช้อุปกรณ์ดิจิทัล โดยการทำสอบและเก็บข้อมูลจากกลุ่มทดลอง เพื่อดีไซน์ให้การมองอุปกรณ์ดิจิทัลและการมองไกลสบายตา และชัดเจนที่สุด เพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นทั้งในระยะใกล้และไกล เพื่อการมองที่คมชัดและสบายตากว่าเลนส์แว่นตาแบบเดิมๆ


Reference

[1] AOA. or. St. Louis: American Optometric Association; c 2006-12 [cited 2012 Jul 8].

[2] Abdi S, Rydberg A. (2005).“Asthenopia in schoolchildren, orthoptic and ophthalmological findings and treatment.” Doc Ophthalmol.; 111(2): 65-72.

[3] Abdi S, (2007). “Asthenopia in Schoolchildren”. Doctoral Thesis.

[4] Abdi S, Lennerstrand G, Pansell T, Rydberg A (2009). “Orthoptic Findings and Asthenopia in a Population of Swedish Schoolchildren Aged 6 to 16 Years” Strabismus; 16(2): 47-55.

[5] Smahel D., Wright M.F., Cernikova M(2014). “The impact of digital media on health: children’s perspectives.” International Journal of Public Health.

[6] http://www.thevisioncouncil.org/digital-eye-strain-report-2016.


Коментарі


bottom of page