6 พฤติกรรมที่พบได้บ่อยในเด็กที่มีสายตาสั้น
- Aksorn Padungkiatsakul O.D.s
- 25 พ.ค. 2565
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 10 พ.ย. 2567

บางครั้งเด็กๆก็ไม่สามารถบอกได้ว่าการมองเห็นไม่ชัดเจนเป็นสิ่งผิดปกติ
แต่เราสามารถช่วยเด็กๆได้โดยสังเกตอาการและพฤติกรรมของเด็กๆว่าเข้าข่ายสายตาผิดปกติหรือไม่
เราได้ลิสพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในเด็กที่มีสายตาสั้น

1.) "หยีตา"เวลามองสิ่งต่างๆ : การหยีตาเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเด็กเริ่มมีสายตาผิดปกติ เพราะการหยีตาเป็นการช่วยให้เด็กสามารถเห็นได้ชัดขึ้นชั่วคราว

2.) ชอบเอียงหน้า หรือ ปิดตา 1 ข้าง : เวลามอง
การเอียงศีรษะ หรือปิดตา 1 ข้าง อาจเป็นอาการบ่งบอกว่าเด็กอาจมีตาเหล่ หรืออาจมีตาขี้เกียจ โดยอาการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กสามารถเห็นได้ดีขึ้น

3.) ดูTV หรือ Smart Phone ใกล้ผิดปกติ : การมอง TV หรืออุปกรณ์ดิจิตอล ใกล้ผิดปกติ และ
การอ่านหนังสือโดยก้มลงไปอ่านใกล้มากๆ เป็น
พฤติกรรมของคนที่มองเห็นไม่ชัด เลยต้องดูใกล้ๆ เพื่อให้เห็นใหญ่ขึ้น

4.) ขยี้ตาบ่อย : การขยี้ตา บ่งชี้ว่าเด็กมีอาการไม่สบายตา อาจเป็นอาการตาล้าจากกล้ามเนื้อตา หรืออาจเป็นอาการคันตาจากเยื่อบุตาอักเสบ

5.) ปวดหัว หรือ ปวดตา : อาการปวดหัว ปวดตา เกิดจากการที่เด็กเห็นภาพไม่ชัดเจน ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนักเกินไป

6.) มีปัญหาการเรียน : การใช้สายตาที่โรงเรียน ต้องการความคมชัด และแม่นยำ เพราะเด็กต้องใช้สายตาทุกระยะ ไม่ว่าจะมองกระดานในระยะ
ไกล มองคอมพิวเตอร์ระยะกลาง จนถึง tablet และหนังสือเมื่อเด็กมองเห็นไม่ชัดจึงทำให้การเรียนแย่ลง
Comments